GTE; Genuine Temporary Entry สำหรับ subclass 482 TSS

วีซ่า subclass 482 TSS; Temporary Skill Shortage หรือวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์จะมีสาขาอาชีพแบ่งเป็น 3 แบบคือ:
– Short-term list
– Long-term list
– ROL; Regional Occupation List
Short-term List: คือสาขาอาชีพที่ขอวีซ่าทำงานได้ (subclass 482) ไม่สามารถขอ PR ได้ ยกเว้นคนที่ถือหรือสมัครวีซ่า subclass 457 เมื่อวันที่ 18 April 2017 (วันเปลี่ยนกฎหมาย) เท่านั้นที่ยังสามารถขอ PR ได้ แต่ก็ขอได้จนถึงวันที่ 18 March 2022 เท่านั้น (4 ปีหลังจากเริ่มใช้ subclass 482 TSS)
สาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ปรกติจะขอกันได้แค่ 2 ปี และต่อภายในประเทศได้แค่ 2 ครั้ง (แต่ก็ต่อข้างนอกประเทศเป็น offshore ได้เรื่อย ๆ ไม่มีกำหนด) แต่สำหรับคนไทยเรา เราสามารถขอได้ 4 ปีเลย ไม่ใช่แค่ 2 ปี เพราะประเทศไทยได้รับการยกเว้นในฐานะที่เรามี Internation Trade Agreement กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลาย ๆ ประเทศก็มี อย่างเช่น จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่นม สิงคโปร์…etc..etc.. อย่างนี้เป็นต้น
ทั้งหมด 11 ประเทศ: https://dfat.gov.au/trade/agreements/pages/trade-agreements.aspx
Long-term List: คือสาขาอาชีพที่สาขาขอ PR ได้หลังจากทำงานให้กับนายจ้าง 3 ปี (2 ปีสำหรับคืนที่ถือกฎเก่า 18 Apr 2017)
สาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list จะสามารถขอวีซ่า subclass 482 ได้ 4 ปี และสามารถขอได้เรื่อย ๆ ภายในประเทศออสเตรเลีย จะขอกี่ครั้งก็ได้ เพราะวีซ่า subclass 482 ไม่ได้จำกัดเรื่องอายุ อาจจะเหมาะสำหรับหลาย ๆ คนที่อายุเกินในการขอ PR แล้ว หรืออาจจะยังไม่พร้อมในส่วนของภาษาอังกฤษในการขอ PR ก็อาจจะเป็นได้
ROL: Regional Occupation List คือสาขาอาชีพที่เราต้องทำงานอยู่ในเขต regional area เท่านั้น
แต่ blog นี้เราขอเน้นที่สาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ก็แล้วกัน
สำหรับคนที่ยังไม่เคยขอวีซ่า subclass 482 TSS ที่อยู่ใน short-term list อาจจะไม่รู้ว่า short-term list จะต้องมีการเขียน GTE; Genuine Temporary Entry ด้วย
จุดประสงค์ของวีซ่า subclass 482 TSS โดยเฉพาะสาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list คือทางรัฐบาลต้องการให้นายจ้างจ้างพนักงานแค่ชั่วคราวเท่านั้น มันถึงถูกเรียกว่า short-term list ไง
ก็คือให้นายจ้างจ้างพนักงานต่างชาติแค่ชั่วคราว แล้วก็ให้นายจ้างพยายามหาคนงานที่เป็น local (PR หรือ citizen) เข้ามาทำงานแทน
ทางรัฐบาลต้องการให้นายจ้างในช่วงที่จ้างพนักงานที่อยู่ใน short-term list นี้ พยายาม train หรือฝึกคนงานที่เป็น PR/Citizen ขึ้นมาใหม่ เพื่อทำหน้าที่นั้น ๆ
GTE สำหรับวีซ่า subclass 482 TSS ก็จะเหมือนกับของวีซ่านักเรียน คือเราต้องเขียนว่า เราต้องการที่จะอยู่ที่นี่แค่ชั่วคราว แค่ทำงานแป๊บเดียว เก็บประสบการณ์แล้วเราก็จะกลับเมืองไทย หรือไปที่อื่น
สรุปคือ “ทำงานเสร็จ แล้วก็จะไป” ไม่กะที่จะอยู่ที่นี่นาน อะไรประมาณนี้
ถึงแม้จริง ๆ แล้วเรากะจะอยู่ต่อ เพื่อที่จะขอ PR เราก็ต้องเขียนใน GTE ว่าเราจะไม่อยู่ต่อแล้ว หลังจากที่วีซ่าหมด อะไรประมาณนี้
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า การที่เราเขียน GTE เข้าไปว่าเราไม่อยากที่จะอยู่ต่อแล้ว จะมีผลต่อการขอ PR ของเราในอนาคต ถึงตอนนั้น GTE ตรงนี้ก็ไม่มีผลแล้วหละ
สำหรับคนที่อยู่ที่ประเทศออสเตรเลียมานานแล้ว อาจจะอยู่ด้วยวีซ่าอะไรมาก่อนก็ตามแต่ ถ้าเราอยู่ที่ประเทศมานานแล้ว (5-6 ปีขึ้นไป) เราก็เริ่มที่เขียน GTE ยากแล้วนะครับ เพราะการที่เราอยู่ที่นี่มาตั้งนาน เราจะไปอธิบายให้กับ case officer ได้ยังไงว่าเราไม่ได้กะที่จะอยู่ต่อที่นี่ ในขณะที่เราก็อยู่มานานแล้วแสนนาน
คนที่มีประสบการณ์พร้อม
ผลภาษาอังกฤษพร้อม
ไม่ได้แปลว่าจะต้องขอวีซ่า subclass 482 TSS, short-term list ผ่านเสมอไป เพราะ case officer อาจจะคิดว่าเราใช้วีซ่าตัวนี้ในการอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ เราก็อาจจะมีสิทธิ์โดนปฏิเสธวีซ่าได้
ถึงแม้ว่าเราโดนปฏิเสธวีซ่า ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้อง pack ของแล้วกลับบ้านเลย เราก็ยังสามารถอุทธรณ์ได้ ก็น่าจะซื้อเวลาได้อีกประมาณ 1-1.5 ปี ถ้าช่วงนี้สำหรับคนที่มีผลภาษาอังกฤษพร้อม และพร้อมที่ขอ PR ก็ยังสามารถขอ PR ได้ ด้วยวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187 ในระหว่างที่เรื่องของเรา อุทธรณ์อยู่ที่ AAT
จะอะไร ยังไงก็ตามแต่ คนที่ขอวีซ่า subclass 482 TSS สาขาอาชีพ short-term list ก็เผื่อใจไว้ด้วยนะครับในเรื่องของ GTE สำหรับคนที่อยู่ที่นี่มานานแล้ว
สำหรับลูกค้าของ “J Migration Team” ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าหากเราได้ลงเรือลำเดียวกันแล้ว เราก็จะดูแลให้ถึงที่สุด เราดูแลในเรื่องของ GTE ให้อยู่แล้ว ลูกค้ามีหน้าที่แค่เซ็นจดหมาย GTE เป็นพอ